เรื่องน่ารู้ของการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ


Categories :

อาจจะกล่าวได้ว่าการดูแลผู้ป่วยเจาะคอเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ คน เนื่องจากคนที่ไม่มีประสบการณ์ สิ่งนี้คือสิ่งที่ใหม่อย่างมาก อย่างไรก็ดีหากว่าคุณต้องการให้การดูแลผู้ป่วยที่เจาะคอ ถูกต้องตามหลักการมากที่สุด มาดูพร้อมๆ กันดีกว่าว่าควรศึกษาเรื่องใดบ้าง 

อะไรคือการเจาะคอ 

สำหรับการเจาะคอก็คือการเปิดท่อทางเดินหายใจส่วนต้น สำหรับคนไข้ที่มีภาวะของทางเดินหายใจส่วนบนได้รับการปิดกั้นนั่นเอง โดยไม่สามารถที่จะใช้ปากหรือว่าจมูกในการหายใจได้ อย่างไรก็ดีแพทย์จะมีหน้าที่สำหรับการย้ายตำแหน่งของการหายใจ โดยการก่อสร้างทางติดต่อของหลอดลมและผิวหนังอันอยู่ด้านหน้าที่ใต้กล่องเสียงนั่นเอง 

ทำไมต้องเจาะคอ 

สำหรับเหตุผลที่ต้องเจาะคอก็เพราะว่าจะช่วยในการลดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ส่งผลให้การดูแลเสมหะนั้นไม่ยาก ป้องกันการสำลักได้ดีมาก และยิ่งเป็นคนไข้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนานๆ ก็อาจจะทำให้คนสำลักเสมหะ ไอออกมาไม่ได้  

ใครที่ต้องเจาะคอ 

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าใครที่จะต้องเจาะคอ ต้องบอกเลยว่าการเจาะคอจะทำก็ต่อเมื่อคนป่วยมีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจเอาไว้ ทำให้หายใจเองไม่ได้ ทั้งแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง มีคนป่วยไม่รู้สติ หรือเป็นอัมพาต และติดเตียง ใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานานๆ อาจจะทำให้เกิดพังผืดที่กล่องเสียงได้นั่นเอง 

การดูแล 

1.หลังจากเจาะคอสัปดาห์แรก 

สำหรับช่วงหนึ่งอาทิตยหลังจากที่เจาะคอ แพทย์จะต้องดูอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ และดูว่าท่อจะหลุดหรือไม่ เพราะว่าช่วงสัปดาห์แรกนั้น เป็นช่วงที่ท่อสามารถหลุดได้แบบง่ายดายมากที่สุด และต้องเอาใจใส่เรื่องของความสะอาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อครบ 7 วันหรือหนึ่งสัปดาห์ คนไข้ก็จะสามารถกลับไปรักษาต่อที่บ้านได้อีกด้วย การเจาะคอ ควรทำเมื่อคนไข้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในการอยู่บ้าน เพราะว่าการเจาะคอดูแลง่ายกว่า ทำให้หลุดยากกว่าหากว่าเจาะดีๆ เข้าที่แล้ว 

2.วิธีดูแลผู้ป่วยเจาะคอ 

สำหรับคนดูแลจะต้องรักษาความสะอาดหรือล้างมือก่อนจะดูแลผู้ป่วยและหลังดูแลเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงเอาแอลกอฮอล์ทำความสะอาดที่ข้อต่อต่างๆ  จากนั้นจัดท่าอย่างเหมาะสม ให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก พลิกตัวทุกสองชั่วโมง และจะต้องดูแลท่อหลอดลมให้อยู่กับที่ตลอด พร้อมๆ กันนั้นก็อย่าลืมฟังเสียงของเครื่องช่วยหายใจอีกด้วย และหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น 

และนี่ก็คือหลักการที่ต้องใส่ใจและคำนึงถึงมากที่สุดในกรณีที่อยากให้การดูแลผู้ป่วยเจาะคอมีคุณภาพชีวิตที่ดีในหลังจากที่เจาะคอไปเรียบร้อยแล้ว